Posted on Leave a comment

How to backup data Synology Nas

Synology Login Screen

การ Backup ข้อมูลบน Synology Nas ด้วย Hyper Backup

เราสามารถใช้งาน Nas ได้หลากหลายขึ้นอยู่กับฟังก์ชั่นที่อุปกรณ์แต่ละยี่ห้อได้จัดเตรียมไว้ให้ ซึ่งส่วนใหญ่เรามักจะนำมาใช้ในหน้าที่ของการแชร์ข้อมูล ไฟล์งาน รูปภาพ หรือวีดีโอ สำหรับการนำมาเก็บข้อมูล และแชร์ไฟล์ข้อมูลเหล่านั้นควรที่จะมีการสำรองข้อมูลหรือ Backup Data ที่อยู่ใน Nas ไว้ด้วย ถึงแม้นว่าอุปกรณ์นั้นจะมีการทำ Raid ต่างๆ ไว้ก็ตามเช่น Raid 0, Raid 1 หรือ Raid 5 สำหรับ Synology Nas นั้นจะมีระบบ Raid ของตัวเองชื่อว่า Synology Hybrid RAID หรือ SHR

ในบทความ How to Backup Data Synology Nas to External Harddisk นี้เป็นตัวอย่างง่ายๆ ในการทำให้ข้อมูลที่สำคัญขององค์กรปลอดภัยจากความเสียหายของอุปกรณ์ และ/หรือจากไวรัสต่างๆ

การเข้าสู่ระบบควบคุมของ Synology สามารถทำได้จากภายใน และภายนอกออฟฟิศ สำหรับภายในออฟฟิศเราสามารถเข้าผ่าน web browser และเรียกผ่าน Private IP Address ได้เลย ส่วนเข้าจากภายนอกต้องการ QuickConnect ที่ Synology ได้เตรียมไว้ให้ และได้ตั้งค่าตอนติดต้้ง Synology Nas ไว้แล้วซึ่งก็อาศัย Web brower เช่นกัน สมมุติว่า NAS ตัวอย่างนี้ถูกกำหนด IP Address เป็น 192.168.1.2

ขั้นตอนการ Backup Synology Nas

  1. นำ External Harddisk ต่อเข้ากับ Nas ทาง USB Port
  2. เปิดโปรแกรม web browser (google chrome, firefox ฯลฯ)
  3. ที่ช่อง address bar ให้พิมพ์ ip address ของ nas และตามด้วยหมายเลข port ในตัวอย่างนี้คือ 192.168.1.2:5000
ตัวอย่าง การเข้าหน้า Login เข้าสู่ Synology Nas

4. จะปรากฏหน้า login ให้ใส่ชื่อและรหัสผ่านตามที่ได้ตั้งค่าไว้

Synology Login Screen
  1. เมื่อ login ผ่านแล้วจะเข้ามาสู่หน้า Console จัดการระบบ
Synology Console Screen
หน้าจอ Console การทำงานของ Synologh Nas
  1. ดับเบิลคลิกที่ไอคอน Package Center
  2. คลิกที่ข้อความ Installed ด้านซ้ายมือ
  3. เมื่อเข้าสู่หน้า Installed ให้เลือกหา Package ที่ต้องการใช้งาน ในที่นี้เราเลือก Hyper Backup
  1. คลิก Open
  2. คลิกที่เครื่องหมาย + ที่อยู่ด้านล่างซ้ายมือ จากนั้นเลือก Data backup task
  3. เลือก Local folder & USB แล้วคลิกที่ปุ่ม Next
  4. ถัดมาให้เลือก usbshare1 แล้วคลิก Next
  5. เลือกโฟลเดอร์หรือไฟล์ที่ต้องการ Backup ในตัวอย่างนี้เราเลือกโฟลเดอร์ smallnas จากนั้นคลิก Next
  6. ในหน้าถัดมา ให้คลิกที่ปุ่ม Next
  7. ที่หน้า Backup Settings ตรงบรรทัด Directory สามารถตั้งชื่อได้ตามต้องการ เช่น เช่น Backup-nas-1-9-2023 ซึ่งจะเป็นการนำไฟล์ที่ได้จากการ Backup ไปไว้ในโฟลเดอร์ Backup-nas-1-9-2023 ที่อยู่ใน External Harddisk ที่เราได้นำมาเชื่อมต่อไว้
  8. กรณีที่ต้องการกำหนดให้ทำการ Backup เป็นประจำ สามารถคลิกเลือก Enable backup schedule และกำหนดวัน เวลา ที่จะทำ Schedule ได้ตามต้องการ
  9. คลิกปุ่ม Apply เพื่อให้โปรแกรมทำงาน
  10. จะมีข้อความให้ยืนยันการทำงานขึ้นมา สามารถตอบ Yes ได้เลยถ้าไม่ต้องการแก้ไขการตั้งค่าใดๆ
  11. จากนั้นจะแสดงข้อความให้รอ ซักครู่
  12. การ Backup เริ่มทำงาน
  13. เมื่อการ Backup เสร็จสิ้นแล้ว ให้ปิดหน้าต่างการ Backup ได้เลย
  14. กลับมาที่หน้าจอ Console
  15. ให้ดับเบิลคลิกที่ Control Panel
  16. ในหน้าต่าง Control Panel ทางด้านซ้ายมือให้เลื่อน Scroll Bar เพื่อหาคำว่า External Devices
  17. คลิกที่ External Devices
  18. คลิกที่ USB Disk 1
  19. คลิกที่ปุ่ม Eject
  20. จากนั้นสามารถถอด External Harddisk ออกจาก Synology Nas ได้
  21. จบการ Backup ข้อมูลบน Synology Nas
Posted on Leave a comment

การใช้งาน Nas อย่างปลอดภัยเบื้องต้น

sylonogy dsm panel

การใช้งานอุปกรณ์ NAS หรือ Network Attach Storage ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ด้วยคุณสมบัติการใช้งานที่สะดวก มีฟังก์ชั่นที่ให้มาหลากหลาย รวมถึงราคาที่สามารถเลือกซื้อได้ตามความเหมาะสมของผู้ใช้งาน นอกจากข้อดีดังกล่าวแล้วผู้ใช้งาน NAS ควรคำนึงถึง คือ ความปลอดภัยในการใช้งาน และการตั้งค่าอุปกรณ์

  1. ปิดบัญชีผู้ใช้ที่เป็น Default User ของอุปกรณ์ เช่น admin โดยสร้าง User ชื่ออื่นขึ้นมาแทนแล้วกำหนดสิทธิ์ให้เป็น Administrator แทน User ที่ชื่อ admin
  2. ตั้งรหัสผ่านให้ยากต่อการคาดเดา ประกอบไปด้วยตัวอักษรเล็ก a-z, ตัวใหญ่ A-Z ตัวเลข และอักษระพิเศษ
  3. อัพเดต Softwar ของ Nas อย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งเปิดการแจ้งเตือนการอัพเดต (ถ้ามี)
  4. เปิดการใช้งาน 2-Step-Verfication (กรณีที่อุปกรณ์ Nas รองรับ) ซึ่งเป็นการพิสูจน์ตัวตนในการเข้าใช้งานอุปกรณ์ โดยอาศัยระบบ OTP (One-Time-Password)
  5. เปิดการใช้งานที่ปรึกษาด้านความปลอดภัย ในอุปกรณ์  Nas บางยี่ห้อมีความสามารถในการวิเคราะห์และให้คำแนะนำการตั้งค่าความปลอดภัย ซึ่งมีประโยชน์อย่างมาก สำหรับ Synology มีฟังก์ชั่นนี้มาให้ โดยใช้ชื่อว่า Security Advisor (ส่วน QNAP ต้องลองหาข้อมูลจากคู่มือ)
  6. เปิดการใช้งานฟังก์ชั่นกำหนดจำนวนครั้งในการเข้าสู่ระบบบ (Login) ล้มเหลว  ในหลายอุปกรณืหรือผู้ให้บริการฟรีอีเมล์ จะมีการกำหนดเงื่อนไขในการเข้าสู่ระบบ (Login) ด้วยชื่อและรหัสผ่านไม่ถูกต้องตามจำนวนครั้งที่กำหนด ระบบก็จะ Block IP Address ของผู้ใช้ทีกำลัง Login นั้น
  7. เปิดใช้งาน HTTPS แทน HTTP ในบางครั้งอาจจะมีการเชื่อมต่อผ่านโปรโตคอล HTTP (เข้าผ่าน Web Browser) เช่นการเชื่อมต่อเพื่อตั้งค่าอุปกรณ์ของผู้ดูแลระบบ เพื่อทำให้เกิดความปลอดภัยควรเปิดให้มีการเชื่อมต่อแบบ HTTPS  เท่านั้น ส่วนการเชื่อมต่อแบบ HTTP ควรปิดการใช้งาน
  8. ปิด Service ที่ไม่ได้ใช้งาน เช่น Telnet/SSH เป็นต้น

แหล่งอ้างอิง
https://blog.synology.com/10-security-tips-to-keep-your-data-safe

Posted on Leave a comment

Nas คืออะไร

เกี่ยวกับ Network Attached Storage (Nas)

NAS ย่อมาจาก Network Attached Storage เป็นอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูล (ไฟล์เอกสาร, รูปภาพ, วีดีโอ) หรือ Computer Server ที่เชื่อมต่อและใช้งานผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือผ่านระบบ Lan (Local Area Network) นั้นเอง ซึ่งก็รวมถึง Wifi หรือ Wireless Lan ก็เป็นระบบ Lan เช่นกัน

Nas คืออะไร

ก็คือคอมพิวเตอร์ที่นำมาเก็บไฟล์งาน แล้วนำมาแชร์ใช้งานในบริษัท บ้าน ทำเป็น Map drive ได้ รวมถึงยังมีความสามารถในด้าน Network เช่น VPN Server

ความสามารถของ Nas จริงๆ นั้นอยู่ที่ Softwar ที่ผู้ผลิตให้มา เราสามารถใช้เป็นตัว Backup ข้อมูล จากคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานไปเก็บที่ตัว Nas ได้ผ่าน Software ที่มีคึวามสามารถตั้งค่าการ Backup ได้ และตัว Nas เองก็สามารถ Backup Nas โดยใช้ External Harddisk ได้เช่นกัน

NAS นั้นมีการใช้งานที่หลากหลาย ทั้งในองค์กรขนาดใหญ่ และขนาดเล็ก ด้วยฟังก์ชั่นที่มีมาให้ช่วยตัดปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ได้เป็นอย่างดีเพียงเปลี่ยนมาใช้ Nas

สำหรับปัจจุบัน Nas ได้แพร่หลายมาถึงผู้ใช้งานตามบ้านที่สามารถเก็บข้อมูลส่วนตัว และแชร์ภายในครอบครัวได้อย่างง่ายดาย และในบางรุ่นรองรับการเชื่อมต่อเข้ากับ TV ได้อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว Nas ในหลายๆ ยี่ห้อยังมีแอพพลิเคชั่น ที่สามารถทำงานบนโทรศัพท์มือถือในการเข้าถึง ใช้งานไฟล์งาน รูปภาพ และวีดีโอ ได้อีกด้วย

ข้อดีของ Nas

  • นำไปใช้ทำ Server ระบบต่างๆ ได้ง่าย และสะดวก
  • ช่วยประหยัดค่าลิขสิทธิ์ Software
  • มีฟังก์ชั่นให้ใช้หลากหลาย ตามแอพพลิเคชั่นที่ติดตั้ง
  • ในบางรุ่นรองรับการเชื่อมต่อกับ TV
  • รองรับการทำงานร่วมกับ โทรศัพท์มือถือ
  • เข้าถึงได้จากภายนอกออฟฟิศ หรือบ้าน

ข้อด้อยของ Nas

  • ต้องมีทักษะด้านไอทีพอสมควร
  • ควรมีเครื่องสำรองไฟใช้คู่กับ Nas
  • ควรมีเวลาในการบำรุงรักษาอุปกรณ์บ้าง
  • ยังต้องมีการ Backup ข้อมูลออกจากอุปกรณ์สม่ำเสมอ